No products in the cart.
12 ข้อควรรู้ สำหรับการใช้งานถังออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับใช้งานที่บ้าน
12 ข้อควรรู้ สำหรับการใช้งานถังออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับใช้งานที่บ้าน
12 ข้อควรรู้ สำหรับการใช้งานถังออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับใช้งานที่บ้าน ควรใช้อย่างไร แบ่งได้เป็น 3 ส่วนนั้นคือ ก่อนใช้งาน – ระหว่างการใช้งาน – หลังจากใช้งาน
5 ข้อควรรู้ ก่อนการใช้งานถังออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับใช้งานที่บ้าน
ถังก๊าซออกซิเจน (ถังเหล็ก) สำหรับงานทางการแพทย์ตามมาตราฐานในประเทศไทย ควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- ตัวถังเป็นสีเขียว มีตัวอักษรภาษาไทย ออกซิเจนทางการแพทย์ มอก.540-2555 พร้อมสัญลักษณ์มอก. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์ทางเคมี O2
- บริเวณรอบคอถังเป็นสีขาว พร้อมสัญลักษณ์พยาบาลสีแดง
- พ่นสีเขียวบริเวณเดือนปีที่ผลิต หรือ ในกรณีที่เป็นถังเก่าต้องได้รับการตรวจสอบทุกๆ 5 ปี โดยมีแผ่นเพลตคล้องที่คอท่อหรือตอกเดือนปีที่เทสไว้ตรงคอท่อ
- ตัวถังภายนอกไม่มีสนิม ไม่มีรอยเจียร ไม่มีรอยเชื่อมบริเวณรอบถัง
- หัววาล์วถูกต้องตามมาตราฐาน CGA (THE COMPRESSED GAS ASSOCIATION) สำหรับก๊าซออกซิเจน คือ CGA540
4 ข้อควรรู้ ระหว่างการใช้งานถังออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับใช้งานที่บ้าน
- ขณะใช้งานให้วางถังตั้งตรง หรือในกรณีที่อยู่บนรถเข็น จุดที่สำคัญคือตัวเกจ์ปรับแรงดันและกระบอกน้ำให้ความชื้น ต้องตั้งตรงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้า สายแคนนูล่า/สายครอบจมูก/สายพ่นยา ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดสำลักน้ำได้
- ขณะใช้งานควรอยู่ในพื้นที่โล่ง วางติดเสาหรือโต๊ะหาผ้าหรือเชือกผูกยึดถังไว้กันล้ม
- ขณะใช้งานควรหลีกเลี่ยงการฉีดสเปรย์ทุกชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์
- ห้ามใช้สารหล่อลื่น ออยล์ จาระบี น้ำมันเครื่อง โลชั่น ครีม น้ำมันทุกชนิดทาบนตัวถังออกซิเจน ทาตรงข้อต่อหรือทางเดินก๊าซ เพราะมีความเสี่ยงอาจจะทำให้เกิดการระเบิดได้
3 ข้อควรรู้ หลังการใช้งานถังออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับใช้งานที่บ้าน
- ควรจัดเก็บวางในที่โล่ง แห้ง ไม่โดนละอองน้ำฝน หรือพื้นที่ชื้น เพราะจะทำให้เกิดสนิมได้
- ปิดหัววาล์วที่ถังออกซิเจนทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ เพื่อกันก๊าซรั่วไหล
- สำหรับการฆ่าเชื้อให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อบิดหมาดเช็ดให้ทั่วและรอจนกว่าจะแห้งสนิทถึงใช้งานต่อได้